ให้ผลิตภัณฑ์ผสมสมุนไพรธรรมชาติ ดูแลคุณ Herbs About You

ดูแลท่านชาย

สมุนไพรช่วยดูแลท่านชาย


กระชาย หรือ ขิงจีน ภาษาอังกฤษ เรียก Fingerroot มีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Boesecnergia pandurata (Roxb.)Schltr. ชื่ออื่น ของกระชาย เช่น ว่านพระอาทิตย์ กระแอน ระแอน ขิงทราย จี๊ปู ซีฟู เป๊าะสี่ เป๊าซอเร้าะ เป็นต้น นักโภชนาการ พบว่า ในกระชายประกอบไปด้วย คาร์โบไฮเดรต โปรตีน แคลเซียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก วิตามินบี1 วิตามินบี3 วิตามินซี และไนอาซิน เหง้าของกระชายจะมีน้ำมันหอมละเหย ซึ่งมีประสิทธิภาพยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย แบคทีเรียในลำไส้และแบคทีเรียที่ทำให้เกิดหนอง นอกจากนั้น น้ำมันหอมระเหย ยังสามารถช่วยขับลมในกระเพาะอาหารและลำไส้ ช่วยเจริญอาหารได้ดี

Finger Root
กระชาย แก้ท้องอืด แก้ลมจุดเสียด



ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของต้นกระชาย

ต้นกระชาย เป็น พืชล้มลุก มีความสูงประมาณ 1 เมตร ใบมีกลิ่นหอม ดอกของกระชายจะมีสีม่วง ดอกจะออกเป็นช่อ การขยายพันธุ์กระชาย โดยส่วนเหง้า กระชายชอบดินที่ร่วนซุย การระบายน้ำได้ดี ดินเหนียว

ต้นกระชาย มีเหง้าสั้น แตกหน่อได้ มีรากอวบ เป็นรูปทรงกระบอกหรือรูปทรงไข่ค่อนข้างยาว ปลายเรียว มีความยาวประมาณ 4-10 เซนติเมตร และกว้างประมาณ 1-2 เซนติเมตร ออกเป็นกระจุก ผิวมีสีน้ำตาลอ่อน ส่วนเนื้อในมีสีเหลืองและมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว
ใบกระชาย มีลักษณะของส่วนที่อยู่เหนือดิน มีใบประมาณ 2-7 ใบ ลักษณะของใบเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ ลักษณะเป็นรูปรี ใบยาวประมาณ 12-50 เซนติเมตรและกว้างประมาณ 5-12 เซนติเมตร โคนใบมนหรือแหลม ส่วนปลายใบเรียวแหลม มีขอบเรียบ เส้นกลางใบ ด้านใบ และกาบใบด้านบนจะเป็นร่อง ส่วนด้านล่างจะนูนเป็นสัน ด้านใบเรียบมีความยาวประมาณ 7-25 เซนติเมตร ส่วนกาบใบเป็นสีชมพูยาวประมาณ 7-25 เซนติเมตร ระหว่างก้านใบและกาบใบจะมีลิ้นใบ
ดอกกระชาย จะออกดอกเป็นช่อ โดยจะออกที่ยอดระหว่างกาบใบคู่ในสุด ความยาวประมาณ 5 เซนติเมตร แต่ละดอกจะมีใบประดับ 2 ใบ มีสีขาวหรือสีขาวอมชมพูอ่อน ๆ เป็นรูปใบหอกกว้างประมาณ 8 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 3.5-4.5 เซนติเมตร ที่กลีบเลี้ยงมีสีขาวหรือสีขาวอมชมพูอ่อน โคนติดกันเป็นหลอด ยาวประมาณ 1.7 เซนติเมตร ปลายจะแยกเป็น 3 แฉก ส่วนกลีบดอกมีสีขาวหรือสีขาวอมชมพูอ่อน โคนติดกันเป็นหลอด ยาวประมาณ 6 เซนติเมตร และปลายแยกเป็น 3 กลีบ เป็นรูปใบหอก มีขนาดไม่เท่ากัน กลีบใหญ่มี 1 กลีบ กว้างประมาณ 7 มิลลิเมตรและยาวประมาณ 1.8 เซนติเมตร ส่วนอีก 2 กลีบจะมีขนาดเท่ากัน กว้างประมาณ 5 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 1.5 เซนติเมตร มีเกสรตัวผู้อยู่ 6 อัน แต่มี 5 อันที่เปลี่ยนไปมีลักษณะเหมือนกลีบดอก โดย 2 กลีบบนมีสีชมพู รูปไข่กลับขนาดเท่ากัน มีความกว้างประมาณ 1.2 เซนติเมตร และยาวประมาณ 1.7 เซนติเมตร ส่วนอีก 3 กลีบล่างมีสีชมพูติดกันเป็นกระพุ้ง มีความกว้างประมาณ 2 เซนติเมตร ยาวประมาณ 2.7 เซนติเมตร และที่ปลายจะแผ่กว้างประมาณ 2.5 เซนติเมตร มีสีชมพูหรือสีม่วงแดงเป็นเส้นอยู่เกือบทั้งกลีบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งตรงกระเปาะและปลายกลีบ จะมีเกสรตัวผู้ที่สมบูรณ์อยู่ 1 อัน ก้านชูอับเรณูหุ้มก้านเกสรตัวเมีย
ผลกระชาย ผลกระชาย ผลแก่จะแตกเป็น 3 เสี่ยง มีเมล็ดค่อนข้างใหญ่
สรรพคุณของกระชาย

สำหรับสรรพคุณทางยาของกระชายนั้น กระชายสามารถใช้ประโยชน์ได้หลายส่วน ทั้ง ใบ หัว ราก รายละเอียด ดังนี้


  • เหง้าและรากของกระชาย มีรสเผ็ด ร้อน ขม แก้ปวดท้อง แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ แก้ลมจุกเสียด แก้บิด แก้โรคกระเพาะ ช่วยขับปัสสาวะ ใช้รักษาริดสีดวงทวาร รักษาแผลในปาก แก้ตกขาว กลาก เกลื้อน ใช้เป็นยาอายุวัฒนะ บำรุงกำลัง มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียได้หลายชนิด ช่วยเจริญอาหาร ช่วยขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ช่วยเจริญอาหารและแก้โรคในช่องปาก
  • ใบของกระชาย ใช้บำรุงธาตุ แก้โรคในปาก คอ แก้โลหิตเป็นพิษ ถอนพิษต่างๆได้
  • กระชายที่นิยมใช้กันก็ คือ กระชายเหลือง และ กระชายดำ ซึ่งกระชายดำปัจจุบันกำลังเป็นที่นิยม จนทำให้กระชายเหลืองถูกลดความสำคัญลงไป แต่ว่ากันว่าในด้านสรรพคุณทางยาสมุนไพร กระชายเหลือง นั้นดีกว่า กระชายดำ เพราะ บางทีเราก็คิดไปเองว่าสมุนไพรถ้าเป็นสีเข้มกว่าก็น่าจะมีประโยชน์มากกว่า แถม กระชายดำ ยังได้รับการโปรโมตทางการตลาดอย่างต่อเนื่อง ทำให้คนทั่วไปหลงคิดว่า กระชายดำ นั้นดีกว่า กระชายเหลือง นั่นเอง


สมุนไพรกระชาย มีสรรพคุณทางยานานับประการ จนได้ชื่อในวงการแพทย์แผนไทยว่าเป็น “โสมไทย” เนื่องจาก กระชาย กับ โสม มีความคล้ายคลึงกันหลายอย่าง เช่น สรรพคุณในการบำรุงกำลัง และ เสริมสมรรถภาพทางเพศ ซึ่งเป็น ลักษณะเด่นของสมุนไพร ทั้งสองชนิด ทั้งกระชายและโสมต่างก็เป็นพืชที่มีส่วนสะสมอาหารที่ใช้เป็นยาอยู่ใต้ดินเหมือนกัน แถมยังสามารถเรืองแสงในที่มืดได้เหมือนกันด้วย และในเรื่องของลักษณะที่คล้ายกับรูปร่างมนุษย์เหมือน ๆ กัน ซึ่งบางครั้งเราจะเรียก โสม ว่า “ โสมคน ” และ เรียก กระชาย ว่า “ นมกระชาย ” ( เนื่องจาก กระชายมีลักษณะที่คล้ายคลึงกับนมผู้หญิง นั่นเอง และ บางครั้งก็ดูคล้ายเพศชาย จึงเกิดความเชื่อที่ว่ามันน่าจะมีความเกี่ยวข้องในเรื่อง สรรพคุณทางเพศ )

น้ำกระชาย คุณค่าของน้ำกระชายนั้นเมื่อ กินน้ำกระชายเข้าไปแล้ว ในกระเพาะเรามีน้ำ มีไขมันและจุลินทรีย์สองกลุ่มจะแยกกันทำหน้าที่ของมันเอง ตัวจุลินทรีย์ในกระเพาะจะทำให้เกิดแอลกอฮอล์ขึ้นมา เพื่อทำหน้าที่สกัดตัวยากลุ่มที่ละลายน้ำออกมาจากกระชายได้เอง ส่วนกลุ่มที่ละลายในไขมันก็ทำงานของเขาเอง คนปกติดื่มกระชาย เพื่อบำรุงเอาไว้ ช่วยป้องกันไม่ให้เป็นโรคไต ผู้ชายป้องกันไม่ให้ต่อมลูกหมากโต ผู้หญิง ป้องกันไม่ให้เป็นมดลูกโต และถ้าให้เด็กดื่มกินเป็นประจำ จะช่วยสร้างกระดูก ให้มีโครงสร้างที่แข็งแรง



Mucama


Mucana


หมามุ่ย หรือ หมามุ้ย ภาษาอังกฤษ เรียก Cowitch ชื่อวิทยาศาสตร์ของหมามุ้ย คือ  Mucuna pruriens (L.) DC. สมุนไพร พืชตระกูลถั่ว ชื่อเรียกอื่นๆของหมามุ้ย คือ บะเหยือง หม่าเหยือง ตำแย โพล่ยู กลออือแซ เป็นต้น

หมามุ้ย มีถิ่นกำเนิดในประเทศเขตร้อน พบในทวีปแอฟริกา และ ทวีปเอเชีย เช่น ประเทศไทย อินเดีย จีน พม่า ลาว กัมพูชา เป็นต้น สำหรับสายพันธ์หมามุ้ย มีหลายสายพันธ์ ที่รู้จักกันดี เป็น หมามุ้ยไทย และ หมามุ้ยอินเดีย

ความแตกต่างของหมามุ่ยไทยและหมามุ้ยอินเดีย

แตกต่างกับอย่างชัดเจน ที่ลักษณะรูปร่าง หมามุ้ยไทย หากสัมผัสโดย จะรู้สึกคันมาก แต่ หมามุ้ยอินเดีย ความคันจะน้อย ส่วนเรื่องของสรรพคุณทางสมุนไพร สรรพคุณของหมามุ้ยอินเดีย มีสูงกว่า หมามุ้ยไทย หมามุ้ยอินเดีย มีการนำมาศึกษาและพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ มากมาย เช่น แคปซูลหมาหมุ่ย เป็นต้น

หมามุ่ย สมุนไพร ชนิดพืชเถา มีขนปกคลุมมากมาย ซึ่ง ขนของหมามุ่ย มีสารเคมีที่เป็นพิษ ชื่อ สารเซโรโทนิน ( Serotonin ) หากสัมผัสผิวกายของมนุษย์จะทำให้รู้สึกคัน เมล็ดหมามุ่ย มีสารเคมี ชื่อ สารแอลโดปา ( L-Dopa ) สารเคมีนี้มีประโยชน์ต่อระบบสืบพันธุ์ และ ระบบประสาท ช่วยรักษาโรคพาร์กินสัน ได้ด้วย ซึ่งมีการนำเอาเมล็ดของหมามุ้ยมาสกัดเป็นยา แต่เมล็ดหมามุ้ยไม่สามารถกินสดๆได้

ลักษณะของต้นหมามุ่ย

หมามุ้ย เป็น พืชล้มลุก ชนิดไม้เถา จัดเป็น สมุนไพรตระกลูถั่ว ลักษณะของต้นหมามุ่ย มีรายละเอียด ดังนี้


  • ลำต้นของหมามุ่ย เป็นลักษณะเครือ มีความยาว 3 ถึง 10 เมตร มีสีน้ำตาล
  • ใบของหมามุ่ย รูปร่างคล้ายรูปไข่ โคนใบกลม ตัวใบบาง และ มีขนปกคลุมทั้งสองด้านของใบ
  • ดอกของหมามุ่ย ดอกมีกลิ่นฉุน สีม่วงอมดำ ดอกออกเป็นช่อ ออกดอกตามง่ามของใบ กลีบดอกเหมือนถ้วย มีสีน้ำตาล มีขนปกคลุม
  • ฝักของหมามุ่ย คือ ผลของหมามุ่ย ลักษณะเป็นฝัก ยาวประมาณ 10 เซนติเมตร มีขนอ่อนๆปกคลุม
  • ฝักแก่ของหมามุ่ย ขนของฝักแก่ของหมามุ่ยเป็นพืชที่มีพิษ เมื่อผิวหนังของคนสัมผัสกับขนพิษ จะทำให้ผิวหนังบวมแดง คันและ ปวดแสบปวดร้อน
  • เมล็ดของหมามุ่ย อยู่ในฝักแก่ของหมามุ่ย มี 4 – 7  เมล็ด ต่อ หนึ่งฝัก เมล็ดมีสีน้ำตาลเข้ม หรือ สีดำ

คุณค่าทางโภชนาการของหมามุ่ย

นักวิทยาศาสตร์ ได้ศึกษาสารอาหารและสารสำคัญในเมล็ดหมามุ่ย พบว่า มี กรดอะมิโนที่จำเป็น ถึง 18 ชนิด และ แร่ธาตุ 8 ชนิด ได้แก่ แคลเซียม ทองแดง ธาตุเหล็ก แมกนีเซียม ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม โซเดียม และ สังกะสี คุณค่าทางโภชนาการของเมล็ดหมามุ่ย พบว่า มี โปรตีน 29.14% ไขมัน 5.05% และ กากใยอาหาร 8.68 %

สรรพคุณของหมามุ่ย

หมามุ้ย มีประโยชน์ทางการรักษาโรค และ การบำรุงร่างกาย มากมาย สามารถใช้ประโยชน์จากหมามุ้ย ทั้ง เมล็ด ราก และ ใบ โดยรายละเอียดของ สรรพคุณของหมามุ้ย ดังนี้


  • ใบของหมามุ้ย ใช้เป็นยาพอกรักษาแผล
  • เมล็ดของหมามุ่ย ใช้เป็น ยาบำรุงกำลัง ทำให้ร่างกายสดชื่น ช่วยทำให้นอนหลับสบาย เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ กระตุ้นการผลิตอสุจิ ช่วยเพิ่มคุณภาพของน้ำอสุจิ ช่วยให้มีลูก ช่วยกระตุ้นความต้องการทางเพศ ช่วยให้อวัยวะเพศแข็งตัว ช่วยชะลอการหลั่ง ช่วยเพิ่มฮอร์โมนเพศ ช่วยให้หน้าอกเต่งตึง ช่วยให้ผิวพรรณเปล่งปลั่ง ช่วยกระชับช่องคลอด ช่วยรักษาโรคพาร์กินสัน ช่วยแก้อาการปวดเมื่อย
  • รากของหมามุ้ย ช่วยแก้ไอ แก้อาการคัน  ใช้ถอดพิษ

ข้อควรระวังในการบริโภคหมามุ่ย


  • การเก็บรักษาหมามุ้ย ให้เก็บฝักแก่ โดยฉีดน้ำให้เปียกก่อน และสวมถุงมือป้องกัน เก็บฝักหมามุ่ย เมื่อได้ ให้นำ เมล็ดหมามุ่ย มาคั่วไฟ และ ล้างน้ำ
  • การใช้ประโยชน์จากเมล็ดของหมามุ่ย ต้องนำเมล็ดหมามุ่ยไปคั่วให้สุกก่อน หากไม่นำมาทำให้สุก จะเป็นพิษ ทำให้ประสาทหลอน
  • การกินหมามุ้ย ต้องกินในปริมาณที่เหมาะสม ต้องไม่กินให้มากเกินไป เพราะจะเป็นพิษ
  • หมามุ่ยไม่ควรรับประทาน ใน เด็ก สตรีมีครรภ์ ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง และ ผู้ป่วยทางจิตเวช
  • ขนจากฝักหมามุ่ย มีพิษ ทำให้เกิดอาการคัน ระคายเคือง ทำให้ เป็นผื่นแดง ปวด และ บวม
  • คนที่มีอาหารแพ้พืชตระกูลถั่ว ห้ามกินหมามุ่ย

บำรุงร่างกาย




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น